เมนู

บทว่า สาปิ ตณฺหา ได้แก่ ตัณหาซึ่งเป็นปัจจัยของสังขาร
คือทิฏฐินั้น.
บทว่า สาปิ เวทนา ไต้แก่ เวทนาซึ่งเป็นปัจจัยของตัณหานั้น.
บทว่า โสปิ ผสฺโส ได้แก่ สัมผัสอันเกิดจากอวิชชาซึ่งเป็น
ปัจจัยของเวทนานั้น.
บทว่า สาปิ อวิชฺชา ได้แก่ อวิชชาอันสัมปยุตด้วยผัสสะนั้น.

ถ้ามีเรา บริขารของเราก็มี


บทว่า โน จสุสํ โน จ เม สิยา ความว่า ถ้าเราไม่พึงมีไซร้
แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมีด้วย.
บทว่า น ภวิสฺสามิ น เม ภวิสฺสติ ความว่า ก็ถ้าแม้ในอนาคต
เราจักไม่มีไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้บริขารของเราก็จักไม่มีด้วย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาให้ภิกษุนั้นสลัดทิ้งทิฏฐิที่ยึดถือไว้
แล้ว ๆ ตามอัธยาศัยบุคคลบ้าง ตามการยักย้ายเทศนาบ้าง.
ในบทว่า ตโตโช โส สงฺขาโร พึงทราบอธิบายว่า :-
ถามว่า ในจิตที่สัมปยุตด้วยตัณหาไม่มีวิจิกิจฉาเลย (แล้ว)
สังขารคือวิจิกิจฉาจะเกิดจากตัณหาได้อย่างไร ?
ตอบว่า สังขารคือวิจิกิจฉาเกิดจากตัณหาก็เพราะยังละตัณหา
ไม่ได้. อธิบายว่า เมื่อตัณหาใดยังละไม่ได้ สังขารคือวิจิกิจฉานั้นก็
เกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาตัณหานั้น จึงตรัสคำนี้ว่า
ตโตโช โส สงฺขาโร.

แม้ในทิฏฐิก็ได้นัย (ความหมาย) อย่างเดียวกันนี้. เพราะธรรมดา
ว่า สัมปยุตตทิฏฐิ ย่อมไม่มีในจิตตุปบาท 4 ดวง.
อนึ่ง สัมปยุตตทิฏฐินั้นเกิดขึ้น เพราะละตัณหาใดไม่ได้
หมายเอาตัณหานั้น ความหมายนี้จึงใช้ได้แม้ในทิฏฐินั้น รวมความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิปัสสนาจนถึงอรหัตตผลไว้ในฐานะ 23 ในสูตรนี้.
จบ อรรถกถาปาลิเลยยสูตรที่ 9

10. ปุณณมสูตร



ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ 5



[182] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ มิคารมาตุ-
ปราสาท
ในพระวิหารบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก ก็ในสมัยนั้นแล ในคืนวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ เป็น
วันเพ็ญ มีพระจันทร์เต็มดวง พระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม
แล้ว ประทับนั่งอยู่ในที่แจ้ง.
[183] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า
ข้างหนึ่ง แล้วประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะพึงทูล
ถามเหตุประการหนึ่งกะพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงประทานโอกาสที่จะพยากรณ์ปัญหาแก่ข้าพระองค์ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าเช่นนั้นเธอจงนั่ง ณ อาสนะ
ของตน แล้วถามปัญหาที่เธอมุ่งจำนงเถิด ภิกษุนั้นรับพระดำรัสของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ อาสนะของตน ทูลถามปัญหาพระผู้มี-
พระภาค
เจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ 5 ได้แก่อุปาทาน-